วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บริบทห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล

ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล




การเดินทางช่วงฤดูฝน พอใช้ได้แต่ก็ไม่หวั่น




การเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียน เป็นงานที่สำคัญเพราะครูจะได้รู้ข้อมูลสภาพทั่วไปของครอบครัวนักเรียน




การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล- =ป.3 และมีครูสอนเพียง 1 คน




การใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนการสอน





บริบทโดยทั่วไปของห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล รอบๆ ห้องเรียนสาขาจะเป็นภูเขาสูง มีทิวทัศน์ที่สวยงาม





ช่วงยามเช้าอากาศดีมากๆ



กิจกรรมหน้าเสาธง

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระเมิงนิเทศงานห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล

การเดินทางไปนิเทศงานห้องเรียนสาขาต่างๆ ของโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ของผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ บางครั้งก็ต้องลงมือขุดดินเองซึ่งเส้นทางก็ติดกับขอบเหวเลย




เส้นทางที่เดินทางไปห้องเรียนสาขาต่างๆ




ผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ นิเทศงานห้องเรียนสาขาบ้านโบ๊ะซูลู่ ครูประจำห้องเรียนสาขาคือนายสมบัติ ไพทูรย์




ผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ นิเทศงานห้องเรียนสาขาบ้านทีเสาะคี ครูประจำห้องเรียนสาขาคือ นายสุบรรณ กมลเลิศ






ผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ นิเทศงานห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล ครูประจำห้องเรียนสาขาคือ นายพีรพงศ์ โพธาชัย






ผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ นิเทศงานห้องเรียนสาขาบ้านทีโบ๊ะคี ครูประจำห้องเรียนสาขาคือ นายพชร สัณนุจิต






เส้นทางที่ผ.อ.สมศักดิ์ วุฒิสัตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระเมิงเดินทางไปนิเทศงานห้องเรีัยนสาขา เส้นทางนี้จะสะดวกที่สุดแล้ว รูปนี้ถ่ายที่เส้นทางวะแบลลู่ ช่วงเดือนสิงหาคม 2552

โครงการ 3 บาท PTTAR เพื่อน้องที่ห่างไกล

นักเรียนและครูประจำห้องเรียนสาขาบ้านมอโกลขอขอบคุณคณะโครงการ3 บาท PTTAR มาก ๆ ครับ






คณะโครงการ3 บาท PTTAR ได้เดินทางมาสำรวจเส้นทางและดูข้อมูลห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552 การเดินทางสำรวจครั้งนี้คุณเฉลิมศักดิ์และทางคณะรู้สึกจะตื่นเต้นและหวาดเสียวไปตลอดทางเพราะเป็นช่วงฤดูฝนด้วย ถนนจะลื่นมาก





โครงการ3บาท PTTAR ได้นำอุปกรณ์การเรียนและสิ่งของมามอบให้โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553






คณะโครงการ3บาทPTTAR ได้มอบอุปกรณ์ของเด็กเล่นให้โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล เด็กๆดีใจมากและเล่นกันได้ทั้งวันแม้อากาศจะร้อน





คณะทีมงานช่วยกันทาสีห้องสมุด




คณะโครงการ3บาทPTTARช่วยกันทาสีแต่งเติมสีให้ห้องสมุดกันอย่างแข็งขัน






ห้องสมุดที่ทางโครงการ3บาทPTTAR ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างเสร็จสมบูรณ์






คณะโครงการ3บาทPTTAR ได้เลี้ยงก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารกลางวันเด็กๆนักเรียนและชาวบ้านมอโกล ซึ่งเป็นอาหารที่เด็กๆไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ทานเลยรวมทั้งไอติมด้วย และทุกคนก็ทานอย่างอร่อยมากๆ






คณะโครงการ3บาท ได้ทำการตัดผมให้เด็กนักเรียนและชาวบ้านมอโกลด้วย




คณะโครงการ 3 บาทได้ร่วมทำกิจกรรมหน้าเสาธงกับเด็กๆนักเรียน





ทางโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล ขอขอบคุณคณะโครงการ 3 บาท PTTAR ที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษากับเด็กนักเรียนบนดอย

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิสัยทัศน์การบริหารสารสนเทศในโรงเรียน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เ อกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน4 สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีให้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับ ให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายใน รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government)และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1. มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ
2. หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล(Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ
3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย
4. มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICT ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ
5. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน5
6. หน่วยงานทุกระดับมี Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
7. มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ
8. มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System :GIS)
9. มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน.
ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการผลิตลงด้วยนั้น นักบริหารในระยะหลังๆ นี้ พยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือ หนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลง และสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า การจะบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง ดังกล่าวนั้น จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ คือ
1) การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น
2) การบริหารทางไกล (High-Tech Administration)
3) การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
4) การมองการณ์ไกล (Introspection)
5) การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)
6) การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)
7) การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)
ระบบสารสนเทศทางการศึกษา ความหมายของระบบ
ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ
1. ข้อมูลนำเข้า (Input)
2. กระบวนการประมวลผล (Process)
3. ผลลัพธ์ (Input)
4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)
ความหมายของระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดของคน ข้อมูล และวิธีการ ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ เช่น
- อัตราครูต่อนักเรียน
- การเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับปัจจุบันกับอดีต
- การเปรียบเทียบผลการดำเนินการนับแต่เริ่มโครงการ
- การเปรียบเทียบผลกำไรต่อการลงทุน
ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์การคือคน คนคือผู้สร้างงานผลิต เป็นผู้ใช้บริการ เป็นผู้แก้ปัญหา และเป็นผู้ตัดสินใจ คนที่มีคุณภาพจะเป็นกระดูกสันหลังขององค์การ
ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operating Manager) เช่น ระบบสารสนเทศการบัญชี
2. ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System : MIS) เป็นเครื่องของผู้บริหารระดับสั่งการ หรือระดับกลาง (Tactical Manager) มี 3 ประเภท คือ- รายงานตามตารางการผลิต - รายงานตามต้องการ - รายงานพิเศษ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับนโยบาย หรือระดับสูง (Strategic Manager) และผู้บริหารระดับสั่งการหรือระดับกลาง (Tactical Manager)
4. ระบบการสนับสนุนระดับนโยบาย (Executive Support System : ESS) จำเป็นมากสำหรับการบริหารระดับสูง การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้ วัฏจักรของการพัฒนาระบบ SDLC เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
บุคลากรในระบบสารสนเทศ
1. ผู้ใช้ (User) ได้แก่บุคคลซึ่งใช้ระบบสารสนเทศเมื่อมีการนำออกมาใช้ ได้แก่ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้จัดการ
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จะทำงานร่วมกับผู้ใช้ เพื่อตรวจสอบความจำเป็นที่ต้องใช้สารสนเทศในกระบวนการของผู้ใช้
3. นักออกแบบระบบ (System Designer) เป็นผู้ออกแบบระบบให้ตรงกับความจำเป็นความต้องการของผู้ใช้
4. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ใช้โปรแกรม เพื่อรหัสคำสั่งสำหรับให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาได้

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ครูบนดอย


ครูและนักเรียนห้องเรียนสาขาบ้านมอโกล
ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาสูง ทุรกันดาร การเดินทางมี
ความยากลำบากมากในช่วงฤดูฝน